ก๊าซชีวภาพ คืออะไร


สวัสดีครับทุกท่าน กลับมาพบกับผม Dr.UBA ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อมกันอีกครั้งนะครับ วันนี้ Dr.UBA จะมาให้ความรู้เรื่อง ก๊าซชีวภาพ กันนะครับ ก๊าซชีวภาพ เกิดจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ไม่ใช้อากาศ ส่วนประกอบหลักคือ ก๊าซมีเทน (CH4) 60-70% คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 30-40% และอื่นๆ 1-2% ซึ่งก๊าซมีค่าพลังงานความร้อน 9,000 kCal/m3 หรือ 21,000 kJ/m3 จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งเป็นเชื้อเพลิงโดยตรง หรือใช้ในเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าหากเปรียบเทียบก๊าซชีวภาพ 1 m3


(สัดส่วนมีเทน 60 %) มีค่าความร้อนเทียบเท่า ดังนี้
น้ำมันเบนซิน 0.67 ลิตร      น้ำมันดีเซล 0.6 ลิตร
น้ำมันเตา 0.55 ลิตร           ฟืนไม้ 1.5 กิโลกรัม
ไฟฟ้า 1.2 kW/hr.             ก๊าซหุงต้ม 0.46 กิโลกรัม


เนื่องจากก๊าซชีวภาพมีส่วนประกอบหลักคือมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อน รุนแรงกว่า CO2 จำนวน 23 เท่าดังนั้นการนำเอาก๊าซชีวภาพมาใช้ประโยชน์ จึงมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ และเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูงอีกด้วย

ขอขอบคุณ
ที่มาของข้อมูล : ทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจากยูบีเอ
รูปประกอบ จาก : http://www.uts-biogas.com/, http://www.environmentcentre.org.nz/